พระไตรปิฎกมรดก ๙ แผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนา “กรุงเทพมหานคร” เป็นเมืองหลวงของราชธานี จวบจนปัจจุบันนับเป็นเวลา ๒๐๐ กว่าปี ที่ปวงชนชาวไทยอยู่เย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ครองแผ่นดินทั้ง ๙ พระองค์...
ขอเชิญร่วมสร้างปัญญาบารมีด้วยการจัดพิมพ์หนังสือ "พระโพธิสัตว์" ภาษาจีน
ขอเชิญร่วมสร้างปัญญาบารมีด้วยการจัดพิมพ์หนังสือ "พระโพธิสัตว์" ผู้มีหัวใจอันยิ่งใหญ่ ภาคภาษาจีน สอบถามรายละเอียดโทร. 093-567-7909
สองพระมหากษัตริย์....ร่มฉัตรปกแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์รัชกาลที่ ๘ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในระบอบประชาธิปไตย
พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang ภาพยนตร์ประวัติชีวิตพระถังซัมจั๋ง
พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang เปิดตำนานประวัติบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศจีน พระถังซัมจั๋งคือใคร มีประวัติอย่างไร และติดตามตัวอย่างภาพยนต์ฟอร์มยักษ์ เรื่องราวของ “พระถังซัมจั๋ง” ซึ่งเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป ซึ่งจะออกฉายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่จะถึงนี้
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕)
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์สตวาหนะแล้ว ราชวงศ์อานธรอิกศวากุ ได้ปกครองดินแดนแถบนี้ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๘ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๙ โดยตั้งเมืองหลวงที่เมืองวิชัยปุระหรือนาคารชุนโกณฑะ สมาชิกฝ่ายสตรีในราชวงศ์นี้เป็นพุทธมามกะได้สร้างวิหารเทวีและวิหารสิงหล ให้เป็นอาสนสถานของพระสงฆ์จากลังกา และสร้างชัยตยฆระ ถวายแด่ฝ่ายพระเถรีจากลังกาความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาของลังกาและอินเดียแถบอานธรประเทศในยุคนี้มีความใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓)
สืบเนื่องจากที่ผู้เขียนและคณะนักวิจัยได้ไปปฏิบัติศาสนกิจล่าสุดที่เมืองลั่วหยาง ณ วัดม้าขาว วัดแห่งแรกในแผ่นดินจีน แล้วเดินทางต่อไปที่เมืองซีอาน (ฉางอาน) มณฑลส่านซี แม้เป็นช่วงค่ำมืด ก็ได้รับน้ำใจจากกัลยาณมิตรที่เคยพบกันเมื่อครั้งที่ประเทศจีนรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ครั้งที่ ๒๗ (๑๔-๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗) ที่วัดฝ่าเหมินซื่อ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตมณฑลเดียวกัน
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคทองแห่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์
แผ่นดินที่ ๓ ของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีถือเป็นยุคทองแห่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก เนื่องด้วยทรงมีพระราชศรัทธาอย่างมั่นคงในพระพุทธศาสนาทรงรักษาศีล บำเพ็ญทาน บำรุงคณะสงฆ์ สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามไว้เป็นจำนวนมาก
ห้วงเวลาแห่งการนับถอยหลัง ก่อนถึงงานผูกพัทธสีมาสถาปนาอุโบสถวัดพระธรรมกายบาวาเรีย เยอรมนี
กระผม ลูก Art องอาจ ธรรมนิทา ขอกราบถวายรายงานข่าวบุญสว่างจากแดนที่ไกลแต่กาย เพราะใจของลูกอยู่กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อเสมอครับ ในช่วงกาลสมัยนับถอยหลังแบบสะเทือนเลื่อนลั่นทั่วสามภพ เพื่อเตรียมเข้าสู่พิธีผูกพัทธสีมา ประดิษฐานลูกนิมิต สถาปนาอุโบสถวัดพระธรรมกายบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2558 ที่จะถึงนี้ครับ
ร่วมจัดพิมพ์หนังสือ "หลวงปู่วัดปากน้ำ" ภาษาอังกฤษ
ขอเชิญผู้มีบุญทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสาน และเผยแผ่ประวัติอันทรงคุณค่า ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) แก่ชาวโลกทุกคน ด้วยการร่วมจัดพิมพ์หนังสือ "หลวงปู่วัดปากน้ำ" ภาษาอังกฤษ หนังสือที่รวบรวมประวัติ ปฎิปทา ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ไว้เพื่อการศึกษาและน้อมไปปฏิบัติตาม
กิจกรรมตักบาตรมิตรภาพไทย-พม่า 1,000 รูป ณ วัดวารีบรรพต(วัดบางนอน) จ.ระนอง
กิจกรรมตักบาตรมิตรภาพไทย-พม่า 1,000 รูป ต้อนรับสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ในวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2558 ณ วัดวารีบรรพต(วัดบางนอน)