วิชชาในพระพุทธศาสนา
การที่เราได้มาอยู่ในสำนักของพระพุทธจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำเสร็จแล้ว
ธรรมะเพื่อประชาชนที่พึ่งอันอมตะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นนาบุญอันเยี่ยม ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย
ธรรมะเพื่อประชาชนรู้จักกายที่แท้จริงของตัวเอง
สัตว์อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส คือ นิพพาน
ธรรมะเพื่อประชาชนอิทธิบาทสี่ ชี้ทางสู่นิพพาน
ขอท่านจงตื่นขึ้นเถิด อย่าให้มัจจุราชผู้เป็นพวกพ้องของคนประมาท ชนะท่านผู้เกียจคร้านด้วยอุบายอันโกงเลย กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ย่อมครอบงำบุรุษผู้ไม่อาจข้ามมหาสมุทรนั้นได้ แม้ฉันใด ชาติและชรา ย่อมครอบงำท่าน ผู้ถูกความเกียจคร้านครอบงำแล้ว ฉันนั้น ขอท่านจงทำเกาะ คืออรหัตผลแก่ตนเถิด เพราะที่พึ่งอย่างอื่นในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน
ธรรมะเพื่อประชาชนมาร ๕ ฝูง
ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อย ย่อมดับไปด้วยลมได้ เหมือนเถาวัลย์ที่เหี่ยวแห้งไป ฉันใด ท่านก็จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น แล้วกำจัดมาร ผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอินทร์ฉันนั้นเถิด เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย จะเป็นผู้มีความเย็น รอคอยเวลานิพพานในอัตภาพนี้ทีเดียว
ธรรมะเพื่อประชาชนอุปสรรคของการเจริญภาวนา
เครื่องกังวลในการบำเพ็ญภาวนามี ๑๐ อย่าง คือกังวลด้วยอาวาส ตระกูล ลาภ กังวลเพราะหมู่คณะ การทำงาน การเดินทาง ญาติพี่น้อง กังวลด้วยเรื่องความเจ็บป่วยไข้ การศึกษาเล่าเรียน และอิทธิฤทธิ์
ธรรมะเพื่อประชาชนพิจารณาปล่อยวางในขันธ์ ๕
ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว ล้วนมีความแตกสลายเป็นที่สุดฉันนั้น
ธรรมะเพื่อประชาชนหนทางสู่ธรรมกาย
ดูก่อนวาเสฏฐะ คำว่า ธรรมกายก็ดี คำว่า พรหมกายก็ดี คำว่า ธรรมภูต ก็ดี หรือคำว่า พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของพระตถาคต
ธรรมะเพื่อประชาชนรัตนะภายใน
ชนทั้งหลายย่อมแสดงธรรมกาย และไม่อาจทำบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า
ธรรมะเพื่อประชาชนตามเห็นกายในกาย
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิดแล้ว รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ส่วนพระธรรมกายอันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนม อันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือ พระสัทธรรมอันสงบ ระงับความกระหายทุกอย่าง พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว
ธรรมะเพื่อประชาชน