แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_5
ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นล่าง ชั้นกลาง และชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทั้งหมด ไต่ถามปัญหา ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เดินไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก ไม่ละเว้นตระกูลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นไหน ได้อาหารพอยังชีพ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เข้าไปหาบัณฑิตทั้งปวง ไต่ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ต่างวิธีการ แต่เป้าหมายเดียวกัน
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงวิธีการทำใจให้สงบไว้ ๔๐วิธี ซึ่งทั้งหมดนั้น เราสามารถเลือกปฏิบัติวิธีการใดวิธีการหนึ่ง สองหรือสามวิธีการพร้อมกันก็ได้ ตามแต่จริตอัธยาศัยของแต่ละคน แต่สุดท้ายก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการความสงบของใจ เมื่อใจรวมหยุดนิ่ง ก็จะดิ่งเข้าสู่กลางภายในตรงศูนย์กลางกายฐานที่๗ และจะได้ตรัสรู้ธรรมไปตามลำดับ
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ผู้ดื่มรสแห่งธรรม
ภิกษุผู้ที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบได้แม้แต่ข้อเดียว จึงนั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ส่วนภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระอรหันต์ สามารถตอบปัญหาธรรมได้ทุกข้อ อย่างแจ่มแจ้งฉะฉานไม่มีติดขัด พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญ ชื่นชม อนุโมทนาสาธุการพระเถระ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - อานุภาพพระปริตร
เหมือนพญานกยูงได้เจริญพระปริตรทุกวัน นายพรานไม่อาจจับได้ตลอดถึง ๗ปี แต่เนื่องจากวันหนึ่ง พญานกยูงได้ยินเสียงนกยูงตัวเมีย ทำให้เช้าวันนั้นลืมเจริญพระปริตร จึงต้อง ไปติดบ่วงของนายพรานอย่างง่ายดาย หรือวิทยาธรตนหนึ่งลอบเป็นชู้กับพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ขณะกำลังจะถูกจับก็ทำตัวหายวับไปด้วยกำลังมนต์ วิทยาธรสามารถพ้นจากการถูกจับ ด้วยกำลังพระปริตรที่ตนท่องไว้จนขึ้นใจ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สอนตน สอนคนให้ถึงธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยอาการ ๓ อย่างด้วยกัน คือ ประการแรก ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ประการที่สอง ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังจะสามารถตรองตามให้เห็นจริงตามที่พระองค์ทรง แสดงได้ และประการสุดท้าย ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้นจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การปฏิบัติ
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 46
แม้ว่าท้าวเธอจะทรงฉงนพระทัยสักเพียงใด แต่ครั้นได้ทรงนึกถึงข้อพิสูจน์ที่มโหสถบัณฑิตค่อยๆเปิดเผยให้ปรากฏเป็นที่ ประจักษ์ก่อนหน้านี้ จึงไม่ทรงคัดค้านสิ่งใดอีก ในที่สุด จึงได้มีรับสั่งกับราชบุรุษผู้หนึ่งว่า “เจ้าจงขึ้นไปดูให้รู้แน่ ว่าบนต้นตาลนั้นมีแก้วมณีอยู่จริงหรือไม่ หากว่าพบแก้วมณีแล้ว ก็จงนำมาให้เราเถิด”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 1
วันนี้เรามาศึกษาประวัติการสร้างบารมีในพระชาติที่ สำคัญอีกชาติหนึ่ง ที่พระองค์ทรงมีปัญญาเฉียบแหลมและลึกซึ้ง แม้ครั้งพระองค์ยังเป็นเด็กน้อยอยู่แต่ก็มีปัญญาไม่ด้อยไปกว่ามหาบัณฑิตของ พระราชาทั้ง ๔ ท่าน ซึ่งถือว่ามีปัญญาสูงสุดของพระนคร