จันทกุมารบําเพ็ญขันติบารมี (4)
สัตบุรุษทั้งหลายบรรเทาความทุกข์อันยากที่จะอดทนได้ด้วยความสุข เพราะเป็นผู้มีจิตเยือกเย็นยิ่งนัก ในความสุข และทุกข์ทั้ง ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้มีจิตเป็นกลาง ทั้งในความสุขและทุกข์
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 4 โชติบาลกุมาร)
ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก ความชั่ว คนชั่วทำง่าย ความชั่ว อริยบุคคลทำได้ยาก
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 200
ในจำนวนอำมาตย์ที่รับใช้อยู่ในราชสำนักของฉัพภิพราหมณ์นั้น ยังมีอำมาตย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งยังมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์กษัตริย์จุลนีเสมอมาอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย ยิ่งได้เห็นการกระทำของฉัพภิพราหมณ์ที่พยายามเกลี้ยกล่อมบรรดาข้าราชบริพารทั้งหลายให้หันมาภักดีต่อตนด้วยการเอาทรัพย์เข้าล่อ ก็ยิ่งโหมกระพือความรู้สึกอยากจะแก้แค้นฉัพภิพราหมณ์ให้เพิ่มมากขึ้น จึงได้คอยหาทางกำจัดฉัพภิพราหมณ์ผู้ทรยศตลอดมา
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 199
นับแต่นั้นมา เจ้าหญิงนันทาก็ทรงเป็นที่โปรดปรานของเจ้าชายจุลนีตลอดเรื่อยมา แม้เจ้าชายจุลนีจะเสด็จกลับไปครองบัลลังก์แห่งปัญจาลนครแล้วก็ตาม พระนางก็ยังคงติดตามพระสวามีดุจดังพระฉายาที่ไม่อาจพรากจากกัน และเพราะเหตุนี้เอง พระแม่เภรีจึงได้ทูลถามพระเจ้าจุลนีว่า “พระนางนันทาเทวีทรงมีโทษอะไร เหตุใดพระองค์จึงทรงคิดจะประทานพระนางให้แก่ผีเสื้อน้ำเป็นลำดับที่สอง”
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 196
พระมารดาจึงได้ส่งขนมและน้ำอ้อยให้แก่พระกุมารเสวย ขณะนั้นหมู่แมลงวันได้กลิ่นน้ำอ้อย ก็พากันบินมาตอมพระกุมาร จุลนีราชกุมารทรงดำริว่า “เราจักเคี้ยวกินขนมนี้โดยไม่ให้มีแมลงวัน” ครั้นแล้วจึงทรงเลี่ยงไปหน่อยหนึ่ง แล้วหยดน้ำอ้อยลงสู่พื้น พร้อมกับค่อยๆไล่แมลงที่ห้อมล้อมพระองค์อยู่ แมลงวันเหล่านั้นแทนที่จะรุมตอมพระกุมาร ก็พากันไปรุมตอมน้ำอ้อยที่พื้นแทน
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
ด้วยจิตที่จะอนุเคราะห์พระราชา พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงถวายพระพรว่า "ธรรมดานักโทษย่อมไม่ยินดีในเรือนจำ มีแต่ดิ้นรนแสวงหาหนทางออกจากเรือนจำนั้นอย่างเดียว ขอพระองค์จงเป็นเช่นนั้นเถิด จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือนจำเถิด โลกนี้ถูกความมืด คือ อวิชชา ห่อหุ้มไว้ ตราบใดที่สัตวโลกยังไม่ได้รับแสงสว่างจากพระสัทธรรม เปรียบเสมือนตกอยู่ในคุกมืด..."
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 157
สาลิกาฟังคำของสุวโปดกแล้ว ก็ไม่สบายใจ รีบห้ามผู้เป็นสามีทันทีว่า “เรื่องอัปมงคลเช่นนี้ ทำไมพี่จึงมากล่าวในวันมงคลของเราเล่า พี่สัญญากับน้องแล้วมิใช่หรือว่า จะกล่าวเฉพาะเรื่องที่เป็นมงคลเท่านั้น”
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 151
ครั้นแล้ว มโหสถก็คิดหาอุบายได้อย่างหนึ่ง จึงได้เรียกสุวโปดกมา เพื่อมอบหมายภารกิจครั้งสำคัญ “มาถูระ เจ้าผู้มีปีกเขียวขจี มานี่เถิดลูกรัก” เจ้าสุวโปดกได้ยินเสียงร้องเรียกของมโหสถ ก็ดีอกดีใจ รีบบินร่อนออกจากกรงทอง ลงมาเกาะอยู่ที่คอน พลางส่งเสียงร้องทักทายด้วยภาษามนุษย์ว่า “นายของบ่าว นายผู้เป็นที่รักยิ่งของบ่าว มีสิ่งใดให้บ่าวรับใช้หรือขอรับ”
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ทางรอดจากสังสารวัฏ
ทันทีที่ พระราชาบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นผมหงอกบนฝ่าพระหัตถ์ ทรงสลดพระทัยพลางสอนตนเองว่า "ดูก่อนเจ้าสุสีมะ บัดนี้เวลาของชีวิตเจ้าล่วงเลยมามากแล้ว การอยู่ครองเรือนตกอยู่ในอำนาจของกิเลสอาสวะเช่นนี้ ไม่ใช่ทางรอดของชีวิต การบรรพชามุ่งทำความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นทางรอดจากสังสารวัฏได้ ถึงเวลาที่เจ้าจะต้องประพฤติพรหมจรรย์แล้ว"
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - อดทนให้ถึงที่สุด
พระกุมารทรงระลึกชาติหนหลัง ก็รู้ว่าก่อนที่ตนจะมาเกิดในพระราชฐานนี้ ได้จุติมาจากเทวโลก และทรงระลึกย้อนไปอีกว่า ก่อนที่จะอยู่ในเทวโลก ได้มาจากมหานรกขุมหนึ่ง และก่อนที่จะตกนรก ได้ เคยเกิดเป็นพระราชาอยู่ในแคว้นนี้เอง จึงทรงดำริว่า ถ้าเราครองราชสมบัติอีก ก็จะต้องสร้างกรรม และต้องเสวยทุกข์ใหญ่ในมหานรกอีกอย่างแน่นอน