ความหลากหลายของเปรต (๑)
การร้องไห้ก็ดี ความเศร้าโศกก็ดี การพิไรร่ำไรก็ดี บุคคลไม่ควรทำเลย เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายก็คงดำรงอยู่อย่างนั้น ทักษิณาทานที่ให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ชนผู้ล่วงลับไปโดยพลันสิ้นกาลนาน
เปรตหญิงสาวผู้หิวโหย
ในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม การเลี้ยงโคในเปรตวิสัยก็ไม่มี การค้าขายหรือการซื้อขายด้วยเงินก็ไม่มี สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงกาลล่วงสิ้นไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเปรตวิสัยนั้น ด้วยทานอันเขาให้แล้วในมนุษยโลก
เปรตฝากมาบอกให้ทำบุญ
กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงว่า คนโน้นเคยให้ทรัพย์หรือให้อาหารแก่เรา คนโน้นได้พยายามทำกิจอย่างนี้แก่เรา คนโน้นชื่อว่าเป็นญาติ เพราะเกี่ยวพันกันทางฝ่ายมารดาหรือบิดาของเรา คนโน้นชื่อว่าเป็นมิตร เพราะเคยคบหากันด้วยอำนาจความสิเน่หา คนโน้นชื่อว่าเป็นสหายเพื่อนเล่นฝุ่นด้วยกันของเรา จึงพึงให้ทักษิณา คือพึงทำทานอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้น
เปรตงูยักษ์และเปรตกาดำ
จริงอยู่ บาปกรรมที่บุคคลทำแล้วย่อมไม่สูญหายไป เหมือนน้ำนม ที่รีดในขณะนั้นคงไม่แปรไป แต่บาปกรรมนั้นจะต้องติดตามเผาคนพาล เหมือนไฟที่ถูกเถ้าปกปิดเอาไว้
เปรตเฝ้าทรัพย์
คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและความกระหาย ความหิวและความกระหายนั้น ย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้น ผู้เป็นพาลทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า เพราะฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็นสนิมในใจ แล้วให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
อนาถใจตายไปเป็น เปรตกอบแกลบ เปรตเล็บเป็นหอกเป็นดาบ
เป็นเปรตที่ใช้สองมือกอบเอาแกลบที่มีไฟลุกโชนเกลี่ยลงบนศีรษะของตนเองจนร้อนไปทั้งตัว ทรมานแสนสาหัสเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะตอนเป็นมนุษย์เป็นพ่อที่เลี้ยงชีพด้วยการโกงตาชั่ง
บุพกรรมใดตายไปเป็นเปรตโครงกระดูก
เปรต คือ อดีตมนุษย์หรือเทวดาที่เคยทำบาปหนักได้ชดใช้กรรมส่วนใหญ่ในมหานรก อุสสทนรก และยมโลกแล้วแต่ยังมีเศษกรรมอยู่ทำให้ต้องมาเกิดเป็นเปรตมีความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เปรตกินลูกตัวเอง และ เรื่องเล่าเปรตแม่น้ำโขง
เปรตชนิดนี้ตั้งครรภ์ได้ด้วยวิบากกรรมพออกลูกมาก็จับลูกกินเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะวิบากกรรมเอายาพิษให้ภรรยาน้อยกินด้วยความอิจฉาริษยาจนภรรยาน้อยแท้งลูก
เปรตกับอสุรกายต่างกันตรงไหน
โดยรูปลักษณ์แล้ว เปรตกับอสุรกายมีความคล้ายกันมาก แต่ว่าอสุรกายนั้นจะมีรูปร่างที่พิลึกประหลาดมากกว่า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างได้ ในการพิจารณาจึงให้ดูที่ลักษณะของทุกขเวทนาที่ได้รับ ความทุกข์ทรมานของเปรตนั้น เนื่องมาจากความหิว ความอดอยากเข้าครอบงำเป็นหลัก ส่วนอสุรกายนั้น มีความทุกข์ทรมานเพราะความกระหายน้ำเป็นหลัก สัตว์ในภูมิทั้ง 2 นี้ ต้องประสบกับความลำบากในการครองชีวิตอย่างแสนสาหัส เพราะว่าเขาเป็นสัตว์ในอบายภูมิ คือ ภูมิที่มีแต่ความชั่วร้าย ไม่มีความสุขนั่นเอง
ทำไมตายแล้วไปเป็นเปรต
เปตติวิสยภูมินั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบไว้ว่า เหมือนกับต้นไม้ในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่ โปร่งเบา มีร่มเงาอันโปร่ง เป็นสถานที่ที่ไม่น่ารื่นรมย์ เพราะแห้งแล้งเต็มไปด้วยความทรมาน เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งประพฤติอกุศลกรรมนำชีวิตของตนไปในทางอกุศลกรรม ผู้นั้นชื่อว่านำตนไปสู่ปฏิปทาทางไปสู่ต้นไม้อันหาความสุขสบายมิได้ คือ เปตติวิสยภูมินั้นอย่างแน่นอน